Our Blog

Orthopedic Surgery

การศัลยกรรมกระดูกทางสัตวแพทย์ในปัจจุบันนี้ มีการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วยในการศัลยกรรม เพื่อให้กระดูกที่หัก หรือแตก สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็น Pin , Plate , Screw ,Wire  

การใช้ Plate และ Screw สามารถช่วยให้กระดูกที่หัก  หรือแตกนั้นเกิดการเชื่อมต่อกันได้อย่างสมบูรณ์มากที่สุด Plate และ Screw มีอยู่หลายรูปแบบในการใช้งาน ตามลักษณะการแตกหัก ตำแหน่ง รวมถึงชนิดของกระดูก

Screw นั้นเป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ที่จำเป็นต้องเลือกใช้งานตามชนิดของกระดูกที่หัก หรือแตก

 

ชนิดของ Screw

Screw ที่เลือกใช้ในการศัลยกรรมกระดูกแบ่งได้ดังนี้

1. Cortical Screw
ใช้กับกระดูก Cortical Bone หรือกระดูกเนื้อแน่นเป็นกระดูกที่มีเนื้อกระดูกหนาแน่น และเรียงตัวกันเป็นชั้น จนกลายเป็นพื้นผิวของกระดูกเพื่อป้องกันโพรงภายใน และค้ำจุนร่างกาย

ลักษณะของ Screw จะมีระยะเกลียวที่แคบและถี่และแกนกลางของเกลียวที่หนา เพื่อให้มีความแข็งแรงมากในการยึด Cortical Bone ที่มีเนื้อกระดูกหนาแน่น

2.Cancellous Screw

ใช้กับกระดูก Cancellous Bone หรือกระดูกเนื้อนิ่มเป็นกระดูกที่มีเนื้อกระดูกเป็นลักษณะโปร่งคล้ายเส้นใยภายในโพรงกระดูก จึงมีความแข็งแรงน้อยกว่า Cortical Bone แต่มีพื้นที่ผิวมากกว่า เป็นที่อยู่ของเส้นเลือดแดง และเส้นเลือดดำ

ลักษณะของ Screw จะมีระยะเกลียวที่หางมากกว่ากับแกนกลางของเกลียวจะหนาน้อยกว่า เมื่อเทียบกับ Cortical Screw เพื่อให้มีพื้นที่ในการจับกระดูกCancellous Bone ที่มีเนื้อกระดูกนิ่มได้มาก

3. Self-tapping Screw

Self-tapping Screw เป็น Screw ที่สามารถทำเกลียวได้ด้วยตัวเอง

โดยปกติการใส่ Screw จำเป็นต้องใช้ Tap ในการทำเกลียวก่อนที่จะใส่ Screw ทุกครั้ง แต่สำหรับ Self-tapping Screw สามารถใส่ Screw ได้ทันที โดยไม่ต้องใช้ Tap ในการทำเกลียวก่อน

Self-tapping Screw มีทั้งแบบ Cortical Self-tapping Screw และ Cancellous Self-tapping Screw

 

วิธีการดู Screw

แบบไหนเป็น Self-tapping เทียบกับ Screw ปกติ

1. Self-tapping Cortical Screw เทียบกับ Cortical Screw ปกติ

สังเกตที่ปลายเกลียวของ Screw ในส่วนของ Self-tapping ตรงปลายจะมีลักษณะตัดเฉียงที่เรียกว่า Cutting Flutes ซึ่ง Screw ปกติปลายจะไม่มีการตัดเฉียง ดังรูป

2. Self-tapping Cancellous Screw เทียบกับ Cancellous Screw ปกติ

สังเกตที่ปลายเกลียวของ Screw ในส่วนของ Self-tappingตรงปลายจะมีลักษณะเกลียวแหลมเหมือนตะปู ซึ่ง Screw ปกติปลายจะโค้งมนไม่แหลม ดังรูป

 

ข้อดี

Self-tapping Screw เทียบกับ Screw ปกต

สามารถใส่ Screw ได้ทันที และรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องใช้ Tap ทำเกลียว ช่วยลดเวลาในการศัลยกรรมกระดูกได้

เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้ Tap ทำเกลียว จึงทำให้ไม่ต้องมี Tap และอุปกรณ์อื่นที่ใช้รวมกัน จึงช่วยลดขั้นตอนในการทำและใช้อุปกรณ์ในการศัลยกรรมกระดูกน้อยกว่า

Self-tapping Screw จะสามารถทำเกลียวที่ยึดกับกระดูกได้แน่น เพราะมีเกลียวคมกว่า Screw แบบปกติ เพื่อช่วยในการเหนี่ยวนำให้เกิดเกลียว  รวมถึงปลายเกลียวลักษณะเป็นรอยตัดที่ช่วยในการกำจัดเศษของกระดูกเพื่อไม่ให้เกิดการอุดตัดขณะทำการไข Screw เข้าไปยังกระดูก

Cortical Self-tapping Screw สามารถใช้กับ Cortical Bone ที่มีชั้นกระดูกบาง รวมถึง Cancellous Bone ได้ แต่ใน Cancellous Bone ความสามารถในการยึดกระดูกของ Cortical Self-tapping Screw จะไม่ดีเท่ากับ Cancellous Self-tapping Screw

จากคุณลักษณะ และข้อดีต่าง ๆ ของ Self-tapping Screw ที่สามารถช่วยลดระยะเวลาในการศัลยกรรม รวมถึงช่วยลดจำนวนอุปกรณ์ในการศัลยกรรมกระดูก  จึงทำให้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่มาจากการทำศัลยกรรมกระดูกลดลง ส่งผลให้ Self-tapping Screw เริ่มเป็นที่นิยม และถูกเลือกมาใช้ในการศัลยกรรมกระดูกมากขึ้นในปัจจุบัน

............................................
บทความโดย : น.สพ.พุทธาพงศ์ เกียรติธรรมลาภ

#BEC  #becvet #เครื่องมือสัตวแพทย์  #อุปกรณ์สัตวแพทย์ 

Share this entry

 

 

 

 

 

 

...................................................
บทความโดย : น.สพ.พุทธาพงศ์ เกียรติธรรมลาภ

#BEC  #becvet #เครื่องมือสัตวแพทย์  #อุปกรณ์สัตวแพทย์ 

Share this entry

...................................................
บทความโดย : น.สพ.พุทธาพงศ์ เกียรติธรรมลาภ

#BEC  #becvet #เครื่องมือสัตวแพทย์  #อุปกรณ์สัตวแพทย์ 

Share this entry

...................................................
บทความโดย : น.สพ.พุทธาพงศ์ เกียรติธรรมลาภ

#BEC  #becvet #เครื่องมือสัตวแพทย์  #อุปกรณ์สัตวแพทย์ 

Share this entry

Read More >

Osteoarthritis (OA)

โรคข้อเสื่อม

เป็นความผิดปกติจากการเสื่อมของกระดูกอ่อนที่หุ้มผิวข้อต่อ และอาจมีการสูญเสียน้ำเลี้ยงข้อต่อหรือเยื่อหุ้มข้ออักเสบร่วมด้วยข้อที่มักพบปัญหา เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก เป็นต้น

สาเหตุ ของโรคข้อเสื่อมนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยต่างๆ ได้แก่

 

อายุ สัตว์ที่มีอายุมากจะเกิดความเสื่อมของข้อ 

 

 

 

สายพันธุ์ เช่น โกลเด้นริทรีฟเวอร์ เยอรมันเชพเพิร์ด ปอมเมอเรเนียน

 

 

 

โภชนาการ ที่ส่งผลต่ออัตราการเจริญโตและน้ำหนักตัวของสัตว์เลี้ยง

 

 

 

เคยมีประวัติการบาดเจ็บของกระดูกและข้อ

 

 

กิจวัตรประจำวัน เช่น ออกกำลังกายหนัก มีการกระเทือน ของข้อ อาศัยบนพื้นที่ลื่น

 

 

อาการที่บ่งชี้ ว่าน้องหมาของเราเป็นโรคข้อเสื่อม คือ 

 

 

ไม่ค่อยทำกิจกรรมไม่เล่นเหมือนเคย

 

 

 

 

นั่ง, นอน มากกว่า เดิน,วิ่ง

 

 

 

ก้าวเดินบนทางลาดชันหรือขึ้นลงบันได ลำบาก

 

 

 

มีอาการขากะเผลกไม่ลงน้ำหนักบนขาข้างที่เจ็บ

 

 

 

ร้องเจ็บหรือแสดงอาการปวดบริเวณข้อ ในกรณีที่มีการอักเสบของข้อ อาจพบว่ามีข้อบวมและมีไข้ร่วมด้วย

 

การรักษา หลังจากที่ได้รับการวินิจฉัยอย่างแน่ชัดโดยสัตวแพทย์แล้ว การรักษาโรคข้อสะโพกเสื่อมมักจะต้องใช้การรักษาหลายๆ วิธีร่วมกัน เพื่อกำจัดปัจจัยโน้มนำต่างๆ และเพื่อให้ได้ผลดีที่สุด โดยการรักษาจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ 

1. รักษาด้วยยา

การใช้ยาลดปวด  ยาลดอักเสบ มักจะถูกใช้เพื่อช่วยบรรเทาอาการในระยะแรก เพื่อลดการอักเสบ และลดความเจ็บปวด ทำให้สุนัขสามารถกลับมาทำกิจกรรมได้ตามปกติ แต่เนื่องจากยากลุ่มนี้ อาจจะมีผลข้างเคียงจึงควรคอยติดตามอาการและใช้ภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์ การใช้สารเสริมอาหารต่างๆ เช่น 

 

 

กลูโคซามีนและคอนดรอยติน ที่เป็นส่วนประกอบของน้ำเลี้ยงข้อต่อและช่วยในการชะลอความเสื่อมของกระดูกอ่อน

 

 

โอเมก้า3 (omega-3 fatty acid) ที่มีผลการวิจัยว่าสามารถช่วยลดการอักเสบและลดอาการเจ็บปวดบริเวณข้อได้ 

 

การใช้สารเสริมอาหารจะมีผลข้างเคียงน้อย และสามารถให้ในระยะยาวได้

2.รักษาโดยไม่ใช้ยา

 

2.1 การควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม ร่วมกับการออกกำลังกายเบาๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดการ กระเทือนข้อต่อ เช่น ว่ายน้ำ หรือเดินบน ลู่วิ่งในน้ำ

 

 

2.2 การทำกายภาพบำบัด เพื่อคงสภาพความ แข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่อ รวมทั้งช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด โดยควร มีการวางโปรแกรมการทำกายภาพโดย สัตวแพทย์ อาจมีการบำบัดด้วยเลเซอร์ อัลตราซาวด์ หรือกระตุ้นไฟฟ้า เพื่อลดความเจ็บปวดและฟื้นฟูเนื้อเยื่อบริเวณโดยรอบ

 

การรักษาข้อเสื่อมมักใช้การรักษาทางยาและการรักษาโดยไม่ใช้ยาไปพร้อมๆ กัน  หากมีการรักษามาเป็นเวลานาน แล้วไม่ดีขึ้น หรือมีอาการรุนแรง สัตวแพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัด ซึ่งมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ทั้งสภาพและความรุนแรงของโรค รวมถึงความพร้อมของตัวสัตว์เลี้ยงและเจ้าของด้วย

 

 

...................................................
บทความโดย : BEC

#BEC  #becvet #เครื่องมือสัตวแพทย์  #อุปกรณ์สัตวแพทย์ 

Share this entry

Read More >

Heartworm in animals

ยุงกัดคันยิบๆ บางคนยิ่งแล้วใหญ่ที่มีอาการแพ้ยุงอีก เป็นผื่นแดงคันไปเป็นแถบๆเลยใช่มั้ยคะ น้องหมาน้องแมวที่มีขนฟูปุกปุย พวกเขาก็ใช่จะรอดพ้นจากเจ้าวายร้ายปากแหลมพวกนี้ เพราะมันก็มีบางบริเวณเช่น จมูก สันจมูก ใบหู หรือ พุงกะทิของพวกเขาที่ขนบางกว่าบริเวณอื่นให้เจ้าวายร้ายพวกนี้ฝากรอยแผลแสบๆคันๆไว้ได้เช่นกัน

Read More >

PEARL

วิธีการใช้งาน เครื่องขูดหินปูนไฟฟ้า ยี่ห้อ PEARL

Read More >

BUSTER ActivityMat

ชุดพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาความสามารถ ให้กับสุนัขด้วยการสร้างความท้าทายในค้นหาขนมที่ซ่อนไว้ในชุดทดสอบ ต่างๆตามระดับความสามารถของสุนัข (แบ่งออกเป็น 3 ระดับ)

Read More >

BUSTER Dog Collar for Brachycephalic Breeds

ผลิตภัณฑ์ใหม่ของ BUSTER เป็นปลอกคอกันเลียที่เหมาะสมสำหรับสุนัขสายพันธุ์ brachycephalic โดยไม่ต้องปรับและตัดปลอกคอ

Read More >

Cranial Cruciate Ligament (CCL) Rupture

เอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาด
เกิดได้หลายสาเหตุ สาเหตุที่พบบ่อย เช่น จากอุบัติเหตุตกจากที่สูงจนเกิดการบิดงอของข้อเข่าเข้าด้านในจนทำให้เอ็นฉีกขาดได้

 

รูปแสดงตำแหน่งของเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าซึ่งในสภาพปกติเอ็นจะทำหน้าที่ในการยึดกระดูกหน้าแข้ง (Tibia) ไม่ให้เคลื่อนไปทางด้านหน้ามากเกินไป แต่เมื่อมีการฉีกขาดเกิดขึ้น กระดูก Tibia ก็จะเคลื่อนไปทางด้านหน้าได้อย่างอิสระสุนัขจะเดินไม่คล่อง และไม่ยอมลงน้ำหนัก

การตรวจวินิจฉัย

ตรวจดูการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของกระดูก Tibia โดยปกติแล้วจะไม่สามารถดันให้เคลื่อนไปข้างหน้าได้ (Cranial Drawer Sign test)

Cr : https://dogkneeinjury.com/drawer-signtest-and-tibial-compression-exam/

การรักษาโดยทั่วไปแนะนำให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อลดอาการปวดและลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับข้อ เพระถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลให้ สุนัขไม่ยอมใช้ขา ไม่ยอมลงน้ำหนัก และหากทิ้งระยะไว้นานอาจทำให้กล้ามเนื้อขาฝ่อลีบตามมาได้

การศัลยกรรมด้วยวิธีการใช้ Cranial Cruciate Suture

(Extracapsular Lateral Suture Stabilization)

 

 

เปิด Joint capsuleจะพบ CCL ที่ขาด

 

 

ตัดชิ้นส่วน CCL  ที่ขาดออก

 

 

เอา meniscus ส่วนที่เสียหายออกแล้วเย็บปิด Joint Capsule ด้วย Absorbable suture จากนั้นทำการเจาะรูด้วย (drill ขนาด 2.5 - 3.5 mm)ที่ตำแหน่ง Proximalของ Tibia

 

 

ใช้เข็มโค้งที่ติดมากับ CCL Suture เกี่ยว Fabella จากด้านบนลงไปด้านล่าง จากนั้นสอด Suture ผ่าน Distal Patella Ligament จากด้านนอกมาด้านใน และสอด Suture มาที่รู Proximal ของ Tibia ที่ทำการเจาะไว้ จากด้านในไปด้านนอก

 

 

สอดวัสดุเย็บทั้งสองด้านเข้าไปในท่อ crimpจากนั้นใช้ crimp forceps หนีบให้ crimp บีบติดกัน

 

#BEC  #becvet #เครื่องมือสัตวแพทย์  #อุปกรณ์สัตวแพทย์ 

...................................

Share this entry

Read More >

plate 3.5 mm. 6 hole

ขั้นตอนการใส่ Plate (จากตัวอย่างการใส่ plate 3.5 mm. 6 hole)

Read More >